EP4 แสงแข็งกับการถ่ายภาพในสตูดิโอ (Hard light in studio photography)

แสงแข็ง (Hard light) ในการถ่ายภาพในสตูดิโอ ช่วยสร้างสรรค์ภาพให้มีอารมณ์อย่างไม่น่าเชื่อ หลีกเลี่ยงการใช้แสงแข็งในการถ่ายภาพบุคคลในสตูดิโอ อาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป Plute Moungplub ในบทความที่แล้ว พูดถึงเรื่องแสงนุ่ม (Soft light) ครั้งนี้จะเป็นแสงตรงกันข้าม นั่นคือ แสงแข็ง (Hard light) นักถ่ายภาพทุกคนทราบดีว่าแสงแข็ง เป็นแสงที่สร้างความต่างอย่างชัดเจนในส่วนของ Mid tone หรือส่วนที่อยู่ตรงกลางระหว่าง เงา (Shadow) กับ ส่วนสว่าง (Hight light) หากใช้ไม่ถูกต้องภาพจะดูแข็งกระด้าง ไม่สวยงาม เปรียบเสมือนการถ่ายภาพกลางแจ้งในตอนกลางวันแสกๆที่แสงอาทิตย์แรงมาก และส่องมาที่วัตถุ การประยุกต์ใช้แสงแข็งในสตูดิโอนั้น ทำได้ไม่ยาก ง่ายๆเลยคือการที่ไม่ต้องใส่ตัวกระจายแสงอย่าง diffuser เช่น softbox ก็เพียงพอที่จะทำให้แสงนั้นแข็งได้พอสมควรแล้ว ยังมีอุปกรณ์อีกหลายรูปแบบที่ใช้ในการควบคุมแสงในสตูดิโอ เช่นsnooze, honey comp เพื่อบีบแสง ให้ลงตามจุดที่ต้องการซึ่งแสงที่ได้จะเป็นแสงที่ค่อนข้างแข็ง สร้างลักษณะเด่นเฉพาะจุดให้กับภาพถ่าย ในบางครั้งแสงแข็งในสตูดิโอ สามารถสรา้งสรรค์ภาพได้เหมือนแสงอาทิตย์ที่ลอดเข้ามา เสมือนการจำลองถ่ายภาพภายในอาคาร ที่มีแสงอาทิตย์ลอดเข้าเป็นต้น ทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่าเราจะมีความคิดสร้างสรรค์ภาพออกมาในตอนแรกอย่างไร นักถ่ายภาพในสตูดิโอคงรู้จักอุปกรณ์กระจายแสงที่เรียกว่า Beauty dish กันเป็นอย่างดี และใช้กันอย่างแพร่หลายเมื่อถ่ายภาพ head shot หรือถ่ายภาพต่ำกว่าหัวไหล่นิดหน่อย อุปกรณ์ชนิดนี้สามารถกระจายแสงได้กว้าง และมีลักษณะแสงที่เป็นเอกลักษณ์มากกว่าการถ่ายภาพด้วย soft box แต่อย่างไรก็ตามการใช้งานอุปกรณ์ชนิดนี้ได้ จะต้องมีความเข้าใจในเรื่องของ shadow, Hight light, mid tone อย่างดีเสียก่อน ไม่อย่างนั้นอาจจะคุมเรื่องของแสงเงาได้ยาก เพราะแสงจะมีลักษณะการกระจายตัวไปทั่ว ภาพจะดู เรียบเป็นระนาบเดียวกัน ซึ่งต่างกับ soft box ที่จะมีการบีบแสงที่มากกว่า จนทำให้เกิดส่วนของ shadow ขึ้นมาเองได้ โดยไม่ต้องมีความเข้าใจในสามเรื่องดังกล่าวมาก สุดท้ายเมื่อมีจินตนาการในการออกแบบแสงแล้ว ทุกท่านสามารถเลือกใช้แสงนุ่ม (Soft light) หรือ แสงแข็ง (Hard light) ได้ตามจินตาการ ควบคุมแสง และรู้จักใช้อุปกรณ์ในสตูดิโอ เท่านี้ก็สามารถครีเอทภาพออกมาได้ตามความต้องการแล้วครับ ที่เหลือคือการจัดองค์ประกอบภาพ กับการโพสของนางแบบ ซึ่งมีหลักการอีกมาก ที่จะค่อยๆเขียนในEPต่อๆไปครับ

EP1 การถ่ายภาพสตูดิโอ ต่างกับการถ่ายภาพด้วยแสงธรรมชาติอย่างไร? (What different between Studio photography and out door photography)

ช่างภาพทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่า ภาพจะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องมีแสง ไม่ว่าจะเป็นแสงอะไรก็ตาม แสงอาทิตย์ แสงเทียน แสงไฟต่างๆ รวมถึงแสงจากแฟลชในการถ่ายภาพ เพราะฉะนั้น เราสามารถแบ่งแสงได้ออกเป็น2ประเภทใหญ่ๆเลยก็คือ แสงธรรมชาติ กับแสงที่เกิดจากการทำขึ้นของมนุษย์ แสงที่มาจากธรรมชาตินั้นบอกอยู่แล้วว่าเป็นแสงที่เกิดขึ้นเอง โดยไม่มีใครไปควมคุมมัน อาจเป็แสงอ่อน (Soft light) แสงแข็ง (Hard light) อุณภูมิของแสง (Light temperature) นักถ่ายภาพสามารถควบคุมแสงเหล่านี้ได้ในระดับหนึ่ง เช่นให้แสงผ่านมาได้ขนาดไหนในการถ่ายภาพ หรือกรองแสงจากแสงแข็งเป็นแสงนุ่ม หรือการเลือกช่วงเวลาในการถ่ายภาพ เพื่อให้แสงออกมาตามต้องการเป็นต้น จะเห็นได้ว่า หากวันที่ฝนตก หากต้องการถ่ายภาพที่ต้องการใช้แสงแข็ง (Hard light) ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะเราไม่สามารถควบคุมแสงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติได้นั่นเอง ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์แสงที่เกิดขึ้นจากแฟลช ถ่ายรูป เราจำเป็นต้องเลือกช่วงเวลา เพื่อให้ได้แสงตามที่ต้องการ แต่เมื่อมีการทำเฟลชสำหรับการถ่ายรูปเพิ่มเข้ามา ทำให้เราสามารถถ่ายรูปเมื่อไหร่ก็ได้ ได้ทุกที่ทุกเวลาตามที่เราต้องการ นี่คือความแตกต่างระหว่างการถ่ายภาพโดยใช้แสงธรรมชาติกับแสงเฟลช เมื่อย้อนกลับมาที่หัวข้อความแตกต่างระหว้างการถ่ายภาพในสตูดิโอกับการถ่ายภาพด้วยแสงธรรมชาติ เมื่ออยู่ในสตูดิโอ แสงที่เกิดขึ้นแน่นอนว่าส่วนใหญ่แสงที่ใช้ในการถ่ายทำจะเป็นแสงเฟลชหรือแสงจากไฟต่อเนื่องที่เราทำขึ้นมาทั้งนั้น ทำให้เราสามารถควบคุมแสงได้อย่างอิสระ ในธรรมชาติมีแหล่งกำเนิดแสงมาจากแหล่งเดียว แต่ในสตูดิโอ มีแหล่งกำเนิดแสงได้หลายทิศทาง เราสามารถใช้แสงกี่ตัวก็ได้ เพื่อให้ได้อารมณ์ของภาพตามที่เราต้องการ (โดยทั่วไปใช้ไม่เกิน 3 ตัวก็เพียงพอแล้ว) ในบางครั้งที่เราเห็น 5-6ตัว อาจมีเรื่องของการตลาด ภาพลักษณ์ของการถ่ายภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะการที่ใช้ไฟมากกว่า 3ตัวขึ้นไปนั้น ไฟดวงอื่นๆที่เหลือแทบจะไม่มีบทบาทอะไรต่อภาพที่ได้เลย จริงๆแล้วภาพถ่ายที่ดีจะต้องมีการคุมโทนของเงา (Shadow), ความสว่าง (Hight light) ให้ได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นการถ่ายภาพในสตูดิโอ จึงไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไปสำหรับมือใหม่ เพียงแต่ให้เข้าใจในเรื่องธรรมชาติของแสงก็เพียงพอ ที่เหลือเป็นเรื่องของเทคนิคในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ก็สามารถทำให้ภาพถ่ายในสตูดิโอนั้นออกมาสวยงามได้เช่นเดียวกัน แสงคือธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นแสงชนิดใด หากเราสามารถควบคุมแสงได้ “After process” เมื่อเสร็จงานนั้นก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น Plute Moungplub ส่วนเรื่องอุปกรณ์ในสตูดิโอที่ออกมาหลากหลายยี่ห้อนั้น ก็เปรียบเสมือนกล้องถ่ายรูป ที่ไม่ว่าจะยี่ห้อไหน ต่างก็สามารถถ่ายรูปได้เหมือนกัน จะต่างกันในเรื่องของเทคโนโลยี และสีสันของภาพเมื่อถ่ายออกมาในครั้งแรกเมื่อยังไม่ได้แต่งภาพเท่านั้น จึงอยากแนะนำว่า หากเป็นมือสมัครเล่น อยากลองใช้เฟลชสตูดิโอ ก็สามารถใช้เฟลชยี่ห้อทั่วไปได้ สามารถสร้างสรรค์ภาพออกมาได้ไม่แพ้มืออาชีพ จะต่างกันเพียงแค่ อุปกรณ์บางตัวที่เกี่ยวกับตัวปรับแสงขนาดใหญ่ที่ทำให้ได้ภาพที่ต่างกัน อันนี้ก็ช่วยไม่ได้ เราควรจะจัดการกับแสงและถ่ายภาพออกมาให้ดีที่สุดในอุปกรณ์ที่เรามีในตอนนี้